6.การใช้วาจากิริย่าทาทาง


การใช้วาจากิริยาท่าทางและสื่อความหมาย

ทักษะการใช้วาจา กิริยาท่าทางในการเสริมบุคลิกภาพและสื่อความหมาย
การใช้วาจากิริยาท่าทาง เป็นพฤติกรรมการแสดงออกที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้มีอาชีพครู ครูคือผู้อบรม สั่ง และสอนผู้เรียน ซึ่งจำเป็นต้องใช้การพูด การอธิบาย การแสดงทางสีหน้าท่าทางประกอบการพูด ดังนั้น ครูที่มีทักษะในการใช้วาจากิริยาท่าทาง ก็จะมีความสามารถในวิธีการพูด การใช้น้ำเสียง ใช้จังหวะ ประกอบกับการใช้กิริยาท่าทาง ก็จะมีความสามารถในวิธีการพูด การใช้น้ำเสียง ใช้จังหวะ ประกอบกับการใช้กิริยาท่าทาง ชวนให้สนใจ สื่อความเข้าใจได้กระจ่างชัดเจน เหมาะสม ไม่เคอะเขิน และเหมาะกับบุคลิกภาพของผู้เป็นครู ถ้าครูมีทักษะการใช้กิริยาวาจาท่าทาง จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้ดี
ประโยชน์ของการใช้วาจากิริยาท่าทางเสริมบุคลิกภาพและสื่อความหมาย
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเคารพศรัทธา และเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอน เกิดความกระตือรือร้นที่จะร่วมกิจกรรม ทำให้ปัญหาความไม่สนในเรียนหมดไป
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในบทเรียนอย่างกระจ่างแจ้ง เพราะผู้สอนมีความสามารถในการอธิบายบทเรียนหรือมอบหมายงานต่างๆ ให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดี อันเป็นผลให้ผู้เรียนสนใจและพอใจในการเรียนวิชานั้น
3. ช่วยให้การควบคุมชั้นมีประสิทธิภาพ เพราะผู้เรียนยอมรับผู้สอน เมื่อผู้สอนอบรมอย่างไร ย่อมเชื่อฟังและปฏิบัติตาม
พฤติกรรมของทักษะการใช้วาจากิริยาท่าทาง
ทักษะการใช้วาจากิริยาท่าทาง ประกอบด้วยพฤติกรรม ดังนี้
1. การเคลื่อนไหวและเปลี่ยนอิริยาบถ
2. การใช้มือและแขน
3. การแสดงออกทางสีหน้า สายตา
4. การทรงตัว การวางท่าทาง
5. การใช้น้ำเสียง
6. การแต่งกาย
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู (2520 : 3 – 11) ได้เสนอพฤติกรรมที่ดีและพฤติกรรมที่ไม่ดีของการใช้วาจากิริยาท่าทางในด้าน ต่างๆ ไว้ ดังนี้
1. การเคลื่อนไหวและเปลี่ยนอิริยาบถ
พฤติกรรมที่ดีในการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างสอน มีดังนี้
1) เดินดูให้ทั่วขณะคุมชั้นเรียน หรือให้งานนักเรียนทำ
2) เดินเข้าใกล้นักเรียน เมื่อเห็นนักเรียนไม่สนใจบทเรียน
3) เดินอย่างสง่า ไม้ช้า หรือเร็วเกินไปจนลุกลนระหว่างการสอน
4) เปลี่ยนที่ยืนขณะอธิบาย
พฤติกรรมที่ไม่ดีของการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนอิริยาบถ มีดังนี้
1) เดินวนเวียนหน้าชั้นจนนักเรียนเวียนศีรษะ
2) เดินช้า อ้อยอิ่ง
3) เดินเอามือล้วงกระเป๋าแบบนักเลงโต
4) เดินกระแอม กระไอ ตลอดเวลา
5) ยืนเกาะอยู่กับที่ตลอดเวลา
6) ยืนเขย่าขาไปมาอยู่ตลอดเวลา
7) ยืน – เดิน แคะขี้ตาขณะสอน
8) ชอบสะบัดผม เสยผม ปัดผม เกาผม
9) จับจมูก ไชจมูก แคะน้ำมูก
10) ปัดมือไปมาตลอดเวลาขณะยืนสอน
11) เคาะหรือหักชอล์กเล่น หรือโยนชอล์กไปที่กระดานเมื่อเขียนเสร็จ
12) ใช้ชอล์กเขียนบนโต๊ะครู หรือโต๊ะนักเรียนขณะสอน
13) บี้นิ้วมือไปมาตลอดเวลา
14) เล่นหรือบิดของต่างๆ ขณะสอน เช่น กระดาษ สมุด ฯลฯ
15) ขยับกางเกง หรือเสื้อผ้าขณะสอน
16) ท่าทางไม่สุภาพ เช่น หยิบของสูงหรือก้มเก็บของโดยไม่ระมัดระวังถึงการแต่งกาย
17) ท่าทางเอียงอาย เช่น ไม่สบตาผู้เรียน ฯลฯ
18) มีกิริยาท่าทางรีบเร่งลุกลนในขณะสอน
2. การใช้มือและแขน
พฤติกรรมที่ดีของการใช้มือและแขนประกอบการสอน มีดังนี้
1) ใช้มือส่งสัญญาณ เช่น กวักมือเรียก โบกให้ถอย ปรบมือ แสดงความยินดี ชมเชย
2) ครูใช้นิ้วชี้แตะริมฝีปาก เพื่อให้นักเรียนเงียบ
3) เคาะโต๊ะเบาๆ เมื่อนักเรียนใจลอย
4) ใช้นิ้วแตะที่ขมับ ในเชิงใช้ความคิด
5) แตะไหล่นักเรียนเบาๆ เมื่อนักเรียนเหม่อลอย
6) เคาะโต๊ะเบาๆ เพื่อเรียกความสนใจในบางโอกาส
7) กอดอกขณะรอให้นักเรียนคิดหาคำตอบ
8) ใช้มือประกอบท่าทางตามเนื้อเรื่อง ตามระดับเสียง ตามจังหวะ ฯลฯ
พฤติกรรมที่ไม่ดีของการใช้มือ และแขนประกอบการสอน มีดังนี้
1) ใช้นิ้ว หรือมือลบกระดาน
2) ตบ หรือใช้ไม้ฟาดโต๊ะแรงๆ
3) ผลักนักเรียนให้ถอยห่าง
4) ใช้ศอกกระทุ้งนักเรียน
5) ตบศีรษะนักเรียนแรงๆ
6) เขย่าชอล์กตลอดเวลา
7) หักชอล์กตลอดเวลา
8) โยนสิ่งของให้นักเรียนรับ
9) ขยับเก้าอี้ไปมาอยู่เสมอ
10) เท้าเอวเมื่อไม่พอใจ
11) แกะ เกา ส่วนต่างๆ ขณะกำลังสอน
12) ดึกระโปรง หรือกางเกง เวลาสอน
13) ทุบศีรษะตนเองเมื่อไม่ถูกใจ หรือคิดไม่ออก
14) หักนิ้วมือเล่นให้เกิดเสียงดัง
15) ชอบถูมือไปมาขณะอธิบาย
16) เอาหัวแม่มือใส่ที่ขอบกางเกง
3. การแสดงออกทางสีหน้า สายตา
พฤติกรรมที่ดีของการแสดงออกทางสีหน้า สายตา มีดังนี้
1) ยิ้มพร้อมพยักหน้ารับ เมื่อนักเรียนทำความเคารพหรือขอโทษ หรือขอบคุณ
2) เมื่อนักเรียนตอบคำถามหรือข้อคิดเห็นที่ขบขัน ครูควรมีอารมณ์ร่วมด้วย
3) เมื่อนักเรียนตอบนอกลู่นอกทาง ควรแสดงสีหน้าเฉย หรือนิ่ง
4) เมื่อนักเรียนตอบถูกต้องหรือแสดงความคิดเห็นที่ดี ครูควรพยักหน้าพร้อมกับยิ้ม
5) เมื่อนักเรียนตอบผิด ครูควรส่ายหน้าพร้อมๆ กับยิ้มน้อยๆ เพื่อมิให้นักเรียนเสียกำลังใจ
6) ขณะสอนควรมีสีหน้า ยิ้มแย้มแจ่มใส
7) แสดงสีหน้าตั้งใจฟังขณะนักเรียนถาม ตอบ หรือแสดงความคิดเห็น
8) แสดงสีหน้าประกอบให้เหมาะสมกับบทเรียนนั้น
9) ใช้สายตากวาดไปให้ทั่วห้อง และประสานสายตากับผู้เรียน

พฤติกรรมที่ไม่ดีของการแสดงออกทางสีหน้า ใบหน้า สายตา มีดังนี้
1) สีหน้าบึ้งตึง เคร่งเครียด เย็นชา เมื่อเดินเข้าห้องสอน
2) เมื่อนักเรียนตอบผิด ครูแสดงสีหน้าไม่พอใจ หรือยิ้มเยาะหยันหรือทำท่าล้อเลียน
3) มองนักเรียนด้วยหางตา มองตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า
4) แสดงสีหน้ารำคาญเมื่อนักเรียนถาม
5) ไม่เก็บความรู้สึก เช่น หน้างอ เม้มริมฝีปาก หน้าบึ้ง เมื่อโกรธนักเรียน หรือแสดงความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่าย
6) แสดงสีหน้าเฉยเมยเมื่อนักเรียนมีไมตรีจิตด้วย เช่น ทักทายหรือทำความเคารพ
7) ทำตาหวานกรุ้มกริ่มกับนักเรียน
8) หาวอย่างเปิดเผย
9) แลบลิ้นออกเลียริมฝีกปากเสมอ
10) พูดไปหัวเราะไปอย่างไม่มีเหตุผล หรืออย่างไม่สมควร
11) ชอบระบายความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยทางสีหน้าเป็นประจำ ฯลฯ
12) ดูนาฬิกาบ่อยๆ จนเป็นที่สังเกตได้
4. การวางท่าทางและการทรงตัวขณะที่สอน
พฤติกรรมที่ดีของการวางท่าทางและการทรงตัวขณะสอน มีดังนี้
1) ไม่วางเท้าตามสบายเกินไป หรือตึงเครียดมากเกินไป
2) เท้าทั้งสองข้างอยู่ห่างกันพอสมควร
3) มีความเป็นตัวของตัวเอง
พฤติกรรมที่ไม่ดีของการวางท่าทางและการทรงตัวมีดังนี้
1) ตัวงอ หลังโกง ท้องป่อง
2) ยืนเกร็ง ยืนไหล่เอียงไปข้างหนึ่ง หรือไหล่ห่อ
3) ยืนพิงกระดานดำ และกระดิกเท้า
4) ยืนมองเพดาน หรือมองไปนอกห้องตลอดเวลา
5) ยืนที่โต๊ะครูถอดรองเท้าเข้า-ออกตลอดเวลา
6) ยืนชิดโต๊ะนักเรียนมากเกินไปขณะอธิบาย
7) นั่งหลับเวลานักเรียนทำแบบฝึกหัด
8) นั่งบนโต๊ะนักเรียนหรือโต๊ะครู
9) นั่งเขย่าเท้า
10) จับเนคไทเล่นไปมาขณะกำลังอธิบาย
11) ทำท่าทางเหมือนไม่มีชีวิต จิตใจ อ่อนเพลีย
12) ทำท่าทางแสดงตนเหมือนนักเรียน เช่น เท้าสะเอว เอามือชี้กราด ฯลฯ
5. การใช้น้ำเสียง
พฤติกรรมที่ดีของน้ำเสียง มีดังนี้
1) เสียงดังฟังชัดเจน
2) ออกเสียง /ร/ล/ และควบกล้ำได้ถูกต้อง
3) น้ำเสียงมีเสียงสูง ต่ำ ตามเนื้อหาที่สอน
4) เน้นเสียงพอสมควร
5) มีหางเสียงพอสมควร
6) ใช้คำสุภาพนุ่มนวลไพเราะ
7) ใช้ภาษาพูดกับนักเรียนได้เหมาะสม
8) ใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์ได้ดี
9) ใช้ถ้อยคำถูกต้องตามความนิยม
10) น้ำเสียงแจ่มใส นุ่มนวลชวนฟัง
11) เสียงที่พูดนั้นเข้ากับกาลเทศะ