5.การใช้คำถาม





ทักษะการใช้คำถาม
การตั้งคำถามเป็นกิจกรรมที่ใช้อยู่เสมอ เป็นทั้งเทคนิคและศิลปในการสอน ดังนั้นการฝึกทักษะการตั้งคำถาม จึงมีความจำเป็นเพื่อช่วยเสริมให้ครูเป็นผู้สอนอย่างมีประสิทธิภาพ จุดมุ่งหมายของการศึกษาปัจจุบันต้องการให้ผู้เรียนใช้ความคิดทั้งในด้านเหตุผล สร้างสรรค์ วิเคราะห์ปัญหา
ประเภทคำถาม อาจจัดได้ ๓ ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
๑. คำถามที่ใช้ความคิดพื้นฐาน เป็นคำถามง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดสูงนักครูถามได้ง่าย แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑.๑ ความจำ เป็นคำถามที่จะได้คำตอบจากความรู้ที่เรียนผ่านมาแล้ว หรือจากประสบการณ์ของผู้ตอบ ซึ่งคำถามอาจเป็นข้อเท็จจริง เช่น ความรู้เกี่ยวกับศัพท์ นิยาม กฎ ระเบียบ การจัดประเภท เกณฑ์ วิธีการ หลักวิชา นอกจากนี้ยังรวมถึงการเล่าเรื่อง หรือยกตัวอย่าง
๑.๒ การสังเกตจากประสบการณ์ ผู้ตอบต้องอาศัยประสาทสัมผัส รวมทั้งการแลกเปลี่ยน ทั้งในขบวนการที่สังเกตเห็น เช่น "จากภาพนี้นักเรียนเห็นอะไร"
๒. คำถามเพื่อการคิดค้น แนวความคิดอาจแยกออกไปได้หลายลักษณะ เช่น
๒.๑ ความเข้าใจ ผู้ตอบต้องใช้ความรู้เดิมมาแก้ไขปัญหาใหม่ ซึ่งอาจเป็นสถานการณ์ที่เลียนแบบของเก่าหรือสถานการณ์ใหม่ แต่ใช้เรื่องราวเก่ามาดัดแปลง รูปแบบของคำถาม มักมีลักษณะแปลความ ตีความ ขยายความ ตัวอย่าง เช่น “ทำไมประชาชนในภาคต่าง ๆ จึงมีอาชีพต่างกัน ” “ไม่งอมืองอเท้าหมายความว่าอย่างไร ”
๒.๒ การนำไปใช้ เป็นคำถามที่ผู้ตอบอาศัยความคิดพื้นฐาน และความเข้าใจ นำเอาความรู้ที่ได้ไปใช้ในเรื่องราวอื่นๆ อย่างถูกต้อง ดังนั้นคำถามของครูจึงต้องกำหนดสถานการณ์ใหม่ที่แปลจากตำราเพื่อให้นักเรียนทดลองแก้ปัญหาต่างๆ เช่น “นักเรียนจะใช้คำขอโทษในเวลาใดบ้าง ” “ ดินสอแท่งละห้าสิบสตางค์ ครึ่งโหลเป็นเงินเท่าใด ”
๒.๓ การเปรียบเทียบ เป็นคำถามที่ต้องวิเคราะห์เรื่องราว โดยผู้ตอบต้องพิจารณาว่าสิ่งใดสำคัญ สิ่งใดไม่สำคัญ มีมูลเหตุหรือมุ่งหมายอย่างไร เป็นการเปรียบเทียบที่ต้องผ่านการคิดจากหลักเกณฑ์ เช่น
“พืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับพืชใบเลี้ยงคู่ต่างกันอย่างไร”
๒.๔ เหตุและผล เป็นคำถามที่ผู้ตอบต้องหาความสัมพันธ์ของเรื่องราว หรือเหตุการณ์ต่างๆ ว่าสอดคล้องหรือขัดแย้งกันหรือไม่อย่างไร รูปแบบของคำถามอาจเป็นการถามความสัมพันธ์ของเรื่องราว บุคคล ความคิด เช่น “ทำไมเราต้องข้ามถนนตรงทางม้าลาย ”
๒.๕ สรุปหลักการ เป็นคำถามที่ผู้ตอบมีการวิเคราะห์หามูลเหตุหรือความสำคัญ ของเรื่องราวนั้นมาแล้ว รวมทั้งเห็นความสัมพันธ์ของเรื่องราวหรือเหตุและผลเหล่านั้น จึงจะสามารถลงสรุปหลักการได้ เช่น
“ นิทานเรื่องนี้จบลงแล้วเราได้ข้อคิดอย่างไร ”
๓. คำถามที่ขยายความคิด เป็นคำถามที่ไม่กำหนดแนวคำตอบ เหมาะสำหรับเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้เรียนมีแนวความคิดกว้างขวาง แนวโน้มของคำถามประเภทนี้มีลักษณะดังต่อไปนี้
๓.๑ คาดคะแน เป็นคำถามเชิงสมมุติฐาน คำตอบย่อมเป็นไปได้หลายอย่างการประมวลคำตอบที่ดีที่สุด ต้องอาศัยการอภิปรายหรือหาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น “ ถั่วที่เพาะไว้ทำไมไม่งอกทุกต้น ”
๓.๒ การวางแผน เป็นคำถามที่ผู้ตอบเสนอแนวคิด วางโครงการ หรือเสนอแผนงานใหม่ๆ แล้วแต่จุดประสงค์ของคำถาม ผู้ตอบอาจประมวลข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ผนวกกับความคิดเห็นของตนเอง แล้วเสนอออกมาเป็นคำตอบ เช่น “ ทำอย่างไรจึงจะกำจัดยุงให้หมดไปจากบ้านเราได้ ”
๓.๓ การวิจารณ์ ต้องการให้ผู้ตอบพิจารณาเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในด้านความเหมาะสม ข้อดี ข้อเสีย ซึ่งผู้ตอบจะต้องอภิปรายแสดงความคิดอย่างกว้างขวาง เช่น “ เธอคิดว่าการมีรถยนต์ส่วนตัวใช้มีส่วนดีและส่วนเสียอย่างไร ”
๓.๔ ประเมินค่า คือคำถามเพื่อให้เกิดการวินิจฉัยตีราคาโดยสรุปอย่างมีหลักเกณฑ์ เช่น
“ จากเรื่องที่ครูเล่าให้ฟังนี้ เธอคิดว่าใครเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในเรื่อง ”
แบบฝึกหัดประเภทของคำถาม
ต่อไปนี้เป็นคำถามประเภทต่าง ๆ ให้พิจารณาว่าเป็นคำถามแบบใด โดยเขียนประเภท
๑. ปัจจุบันประเภทไทยมีกี่จังหวัด
๒. ดาวเคราะห์มีกี่ดวง ?
๓. รูปร่างของสีของเมล็ดมะละกอเป็นอย่างไร ?
๔. เพราะอะไร น้ำในคนโฑดินเผาจึงเห็นว่าในขวด ?
๕. เชียงใหม่และนครราชสีมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
๖. "ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ" หมายความว่าอย่างไร
๗. ถ้าจะตากผ้าให้แห้งเร็วจะทำอย่างไร ?
๘. เมื่อเอาปลายนิ้วแตะเกสรตัวเมียแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง
๙. เพราะอะไรริมฝีปากและขาจึงแตกในฤดูหนาว
๑๐. ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยต้นไม้จะเป็นอย่างไร ?
๑๑. ถ้าลมมรสุมไม่พัดผ่านประจำ อาชีพของคนไทยจะเป็นอย่างไร
๑๒. เมื่อโตขึ้นนักเรียนอยากประกอบอาชีพใดมากที่สุด
๑๓. นักเรียนว่าการล่าสัตว์มีผลดีและผลเสียอย่างไร
๑๔. ถ้าได้เป็นนายอำเภอ นักเรียนจะวางแนวทางการทำงานอย่างไร
๑๕. ถ้าไม่มีแสงแดด สิ่งที่มีชีวิตจะเป็นอย่างไร
๑๖. ระดับปรอทจะคงที่ในขณะน้ำเดือดนั้นเป็นเพราะอะไร
๑๗. การเกิดน้ำค้าง และหยดน้ำข้างแก้วน้ำแข็งเหมือนกันหรือไม่
๑๘. ทำอย่างไรจึงจะมีน้ำสะอาดใช้ได้ตลอดปี
๑๙. จะสรุปหลักการสังเคราะห์แสงได้อย่างไร
๒๐. ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์โลกเราจะเป็นอย่างไร เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........
เป็นคำถามประเภท..........





แบบฝึกหัดตั้งคำถาม
๑. ครูให้นักเรียนดูภาพสัตว์ แล้วตั้งคำถามที่มีจุดมุ่งหมายต่อไปนี้
ถามการสังเกต
ถามให้เปรียบเทียบ
ถามความจำ
ถามคาดคะเน
๒. ครูต้องการให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการมาโรงเรียน จึงตั้งคำถามว่า ถ้าโรงเรียนจำเป็นต้องเปิดหลายๆ วัน นักเรียนจะทำอย่างไร นักเรียนตอบว่า “ดี จะได้ไม่ต้องมาโรงเรียน”
ท่านจะตั้งคำถามต่อไปที่จะทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการมาโรงเรียน.............
๓. ครูถามนักเรียนว่า “ในวันหยุดนักเรียนจะช่วยผู้ปกครองทำงานบ้านอะไรได้บ้าง” คำถามนี้มีหลายคำตอบ ครูต้องการให้นักเรียนหลายๆ คนตอบคำถามนี้ จะตั้งคำถามถามนักเรียน แต่ละคน โดยใช้คำถามที่ไม่ซ้ำกัน
คำถามที่ ๑ .........
คำถามที่ ๒ .........
คำถามที่ ๓ ..........
คำถามที่ ๔ ..........


๔. ครูสอนเรื่องการสงวนรักษาป่าไม้ไปแล้ว จงตั้งคำถามเพื่อการนำไปใช้.......
๕. ตั้งคำถามเพื่อแนะแนวทางโดยใช้ประสบการณ์เดิมมาสัมพันธ์กับความรู้ใหม่ ครูตั้งคำถามว่า ชายคนนี้สูงกี่ฟุต นักเรียนตอบไม่ได้ จงตั้งคำถามใหม่หลาย ๆ คำถามเพื่อช่วยให้นักเรียน ตอบให้ได้


เทคนิคการใช้คำถาม
๑. ถามด้วยความมั่นใจ ผู้สอนต้องเตรียมคำถามไว้เพื่อช่วยให้มั่นใจและคล่องตัวในการ ถามคำถามจะชัดเจนไม่วกวนสับสน
๒. ความกลมกลืนในการถาม การถามควรใช้คำถามให้สลับกลมกลืนไปกับกิจกรรมการสอน เช่น
ครูใส่น้ำตาลลงไปในแก้วน้ำแล้วใช้ช้อนคน
ครู : ครูกำลังผสมอะไรเข้าด้วยกัน ?
นักเรียน : น้ำตาลกับน้ำ (ครูคนไปเรื่อย ๆ และตั้งทิ้งไว้สักพักหนึ่ง)
ครู : เธอยังเห็นน้ำตาลอยู่ในแก้วน้ำหรือไม่ ?
นักเรียน : ไม่เห็น
ครู : นักเรียนว่าน้ำตาลหายไปไหน ?
๓. คำถามต้องใช้ภาษาพูดที่ง่าย ๆ เช่น คำถามว่า เราจะอนุรักษ์ป่าไม้ไว้ได้อย่างไร แก้ไขใหม่เป็น เรามีวิธีสงวนป่าไม้ไว้ได้อย่างไร
๔. เว้นระยะให้คิด หลังการถามมาแล้วควรทอดระยะเวลาเล็กน้อย เพื่อให้เด็กได้รวบรวมความคิดในการตอบ ตัวอย่าง นักเรียนเคยเห็นใบไม้อะไรบ้างที่ไม่มีสีเขียว (ครูใช้สายตาสำรวจนักเรียนให้ทั่วๆ กะเวลาประมาณ ๒ - ๓ นาที แล้วจึงเรียกนักเรียนให้ตอบ)
๕. ให้นักเรียนมีโอกาสตอบหลายคน เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
๖. การเลือกถาม ครูควรรู้เทคนิคบางอย่างเกี่ยวกับการถามดังนี้
๖.๑ ถามคนสมัครใจตอบก่อน และครูก็ต้องพยายามชักจูงให้นักเรียนที่ไม่อยากตอบให้ลอง แสดงความคิดเห็นตอบบ้าง
๖.๒ ไม่ควรถามนักเรียนที่ขาดเรียนเป็นเวลานานตอบ
๖.๓ หลีกเลี่ยงการตอบพร้อมกันทั้งชั้น แต่ให้ตอบเป็นรายบุคคล และกระจายคำถามให้ทั่วถึง
๗. ครูควรปฏิบัติอย่างไรต่อคำตอบของนักเรียน คำตอบแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ ตอบถูก ตอบผิด ตอบถูกบางส่วนและไม่ตอบเลย (ให้นำทักษะการเสริมกำลังใจมาใช้) ตอบไม่ถูกอย่าเฉยเมยอาจจะบอกว่าให้ลองคิดดูใหม่ ถ้าตอบถูกบางส่วนให้เพื่อนๆ ช่วยขยายคำตอบให้ถูก ถ้าหากนักเรียนไม่ตอบเลย ครูควรทำดังนี้._
๑. อธิบายคำถามให้เข้าใจง่ายขึ้น อาจใช้คำพูดว่า "ครูจะถามใหม่นะ..." ฯลฯ
๒. กรณีที่นักเรียนไม่สนใจเลยครูต้องขยายคำถาม เร้าความสนใจด้วยวิธีต่าง ๆ
๘. ใช้คำถามหลายประเภทในการสอนแต่ละครั้ง มีคำถามตั้งแต่ง่ายๆ จนถึงคำที่ต้องใช้ความคิดกว้างขวาง
๙. การใช้ท่าทาง เสียง ประกอบในการถาม จะทำให้บรรยากาศของการใช้คำถามดียิ่งขึ้น
๑๐. การใช้คำถามรุก บางทีคำตอบของนักเรียนมีลักษณะผิวเผินไม่ชัดเจน ถ้าครูรู้จักป้อนคำถาม
ต่อเนื่องไปอีกจะสามารถทำให้นักเรียนแสดงความรู้ และขยายความคิดของนักเรียนมากยิ่งขึ้น คำถาม
มีจุดมุ่งหมายหลายประการดังนี้._
๑๐.๑ เพื่อต้องการความชัดเจน ครูอาจถามซ้ำว่า “เธอแน่ใจหรือ ” “ไหนลองทวนที่ตอบไปแล้วซิ ” “ที่บอกว่าล้างผักให้สะอาดนั้นล้างอย่างไร ”
๑๐.๒ เพื่อต้องการให้เกิดการคาดคะเนและให้เหตุผล เช่น “ทำไมเธอจึงคิดเช่นนั้น” “ถ้ามันไม่เป็นอย่างที่ว่านั้นล่ะ” “ในทางตรงกันข้ามที่เธอว่านั้นจะเป็นอย่างไร”
๑๐.๓ เพื่อต้องการสรุป เช่น “ที่ตอบมานี้สรุปได้ความว่าอย่างไร” “ไหนลอง ย่อเรื่องที่เล่ามาซิว่ามีประโยชน์อย่างไร”
๑๐.๔ เพื่อต้องการแนะแนวทางโดยใช้ประสบการณ์เดิมมาสัมพันธ์กับความรู้ใหม่ เช่น
ครู : ถ้ามีส้มอยู่ ๕ ผล จะให้เด็กสองคนจะได้คนละเท่าไร ?
นักเรียน : แบ่งไม่ได้
ครู : ถ้ามีส้มอยู่ ๔ ผลจะแบ่งให้เด็กสองคนได้คนละเท่าไร ?
นักเรียน : คนละ ๒ ผล
ครู : ถ้ามีส้มอยู่ ๑ ผลจะแบ่งให้เด็ก ๒ คน จะทำอย่างไร ?
นักเรียน : คนละครึ่งผล
ครู : ตอบได้หรือยังว่าถ้ามี ๕ ผลจะได้คนละเท่าไร
นักเรียน : สองผลครึ่ง
อ้างอิง www.ais.rtaf.mi.th/.../000เอกสารการสอน/หมวดวิชาที่%203%20ทักษะการสอน/4การใช้ทักษะในการสอน..