1.การนำเข้าสู่บทเรียน






เทคนิคการนำเข้าสู้บทเรียน
ความหมาย
ความหมายของคำว่า”นำ” ตามพจนุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช2542
หมายถึงเริ่มต้นโดยมีผู้อื่นหรือสิ่งอื่นตาม ฉะนั้น คำว่า”นำเข้าสู้” ก็เป็นการเริ่มต้นเพื่อไปสู่สิ่งใด สิ่งหนึ่ง ส่วนคำว่า “บทเรียน” หมายถึง คำสอนที่กำหนดให้เรียน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546:578,602) ฉะนั้นตามรูปศัพท์ “การนำเข้าสู่บทเรียน”หมายถึง การเริ่มต้นเพื่อไปสู่เนื้อหาสาระหรือคำสอนที่กำหนดให้เรียน
อรภัทร สิทธิรักษ์ (2540:121) ชมนาท รัตนมณี (2541: 320) และศักดิ์ ปาณะกุล และคณะ (2549:167) ได้อธิบายเกรียวกับการนำเข้าสู่บทเรียน เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนหมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ครูใช้ในการนำเดินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมตัวนักเรียนก่อนเริ่มเรียน และก่อนที่ครูสอนเนื้อหาทุกวิชา ซึ้งเป็นการเตรียมนักเรียนให้รู้ว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร สามารถนำความรู้ที่นักเรียนมีอยู่มาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูกำลังจะสอน โดยการหากิจกรรมที่เร้าความสนใจของนักเรียนแล้วเชื่อมยงไปสู่บทเรียน ซึ้งจะทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น
สรุปทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน หมายถึง ทักษะที่ครูใช้ในการจัดกิจกรรมก่อนเริ่มสอนเนื้อหาในทุกวิชา เพื่อเป็นการเตรียมนักเรียนให้มีความคิดว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร สามารถนำเอาความรู้และทักษะที่นักเรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูสอนได้ นอกจากนี้ยังทำให้นักเรียนเข้าใจความมุ่งหมายของบทเรียนได้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยมากครูจะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที สำหรับนำเข้าสู่บทเรียน


วัตถุประสงค์ของการนำเข้าสู่บทเรียน
การนำเข้าสู่บทเรียนเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และหากกิจกรรมนี้เริ่มต้นได้ไม่ดี กิจกรรมการเรียนการตอนก็จะมีผลกระทบด้วย การนำเข้าสู่บทเรียนมีวัตถุประสงค์หลายประการ สุวรรณี ศรีคุณ (2527: 187 อ้างถึงใน อินรา บุณยาทร, 2542:218) และเสริมศรี ลักษณศิริ (2540ซ 319) สรุปได้ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อเร้าความสนใจของนักเรียน หรือดึงดูดความสนใจของนักเรียนมาอยู่ทีการสอนของครู และเป็นการเตรียมนักเรียนให้มีสมาธิในการฟังเรื่องที่ครูสอนนักเรียนว่าต่อไปจะเรียนเรื่องอะไรและสามารถนำเอาความรู้มาสัมพันธ์กับบทเรียนใหม่ซึ่งทำให้นักเรียนเห็นแนวความเรียนรู้ยิ่งขึ้นและชัดเจน


ประโยชน์ของการนำเข้าสู่บทเรียน
โดยทั่ว ๆ ไปครูที่มีความชำนาญในการสอนมักจะใช้เวลาสั้นๆ เพียง5-10 นาที จัดกิจกรรมเริ่มการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียนเปิดโอกาสรับประสบการณ์และให้นักเรียนเข้าใจเทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนและนำไปใช้ให้เกิดผลดังนี้ (พึงใจ สินธวานนท์ และคณะ,2520:349 อ้างถึง เสริมศรี ลักษณะศิริ, 2540:319)
1. สามารถเรียกร้องความตั้งใจของนักเรียนให้พร้อมที่จะเรียน
2. สามารถเร้าและจูงใจให้นักเรียนคงความสนใจบทเรียน
3. สามารถเอกลักษณะละวิธีการสอนเรื่องที่จะเรียนได้
4. สามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมกับเรื่องที่จะเรียนต่อไปได้


เฉลิม มลิลา (2526:12) กล่าวถึงคุณค่าและประโยชน์ของการนำเข้าสู่บทเรียน
1. ช่วยให้นักเรียนเกิดความพร้อม
2. ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ได้ดี
3. ช่วยกระตุ่นนักเรียนให้เกิดความสนใจ
4. ช่วยในการปลูกพื้นฐานความรู้ ความคิด แนวทางการประกอบกิจการ
5. เป็นสื่อเชื่องโยงสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักเรียนครูก่อนดำเนินการสอน
6. ช่วยนักเรียนเกิดมโนทัศน์(concepts) ที่ดีและถูกต้อง
7. เชื่อมโยงและประสบการณ์ใหม่ให้มีความสัมพันธ์
8. ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
9. ช่วยให้นักเรียนสามารถทำการเข้าใจบทเรียนดีดีรวดเร็ว
10. ช่วยพัฒนาทัศคติในการเรียนที่ดีกับนักเรียน
11. เป็นช่องทางช่วยผ่อนแรงในการสอนของครู
12. ผลป้อนกลับ(Feedback) จากการสังเกตกรรมของนักเรียน นับเป็นปัจจัยที่ช่วยในการปรับปรุงทักษะวิธีการเข้าสู่บทเรียน


สรุปได้ว่า การนำเข้าสู้บทเรียนมีประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นเทคนิควิธีการที่ช่วยให้นักเรียนเกิดความพร้อมเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจบทเรียน รวมทั้งเป็นสื่อเชื่องโยงสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูและนักเรียนก่อนดำเนินการสอนในขั้นตอนต่อไปได้
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการใช้กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
กล่าวโดยได้ทั่วไปได้ว่า ในตอนเริ่มต้นของการสอนแต่ละครั้ง ครูเริ่มกิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียน นอกจากนี้ ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และคณะ(2549:167) ได้แนะนำสถานการณ์เฉพาะที่ควรใช้การเข้าสู่บทเรียนดังนี้
1. เมื่อเริ่มเรื่องหรือเริ่มบทเรียนใหม่
2. เมื่อจะมอบหมายการบ้านหรือการทำงาน
3. เมื่อเตรียมการอภิปราย เพื่อคำแนะนำ
4. แนะนำให้นักเรียนจับประเด็นของเรื่องหรือฟังนั้นได้เช่น ดูภาพยนตร์
เฉลิม มลิลา (2526:15) ได้ให้รายละเอียดของช่วงเวลานำขู่บทเรียนดังนี้
1. ใช้เมื่อจะเริ่มต้นบทเรียน
2. ใช้นำก่อนอธิบายและซักถาม
3. ใช้ก่อนนำวิเคราะห์ เปรียบเทียบ
4. ใช้เพื่อเตรียมอภิปราย
5. ใช้นำเพื่อสื่อความหมาย จุดประสงค์
6. ใช้นำเมื่อจะใช้เทคนิคการสอน
7. ใช้ก่อนที่เสนอแนะนักเรียนในการส อน
8. ใช้นำเมื่อจะสือการเรียนการสอน
9. ใช้เพื่อสือแนวความคิด และวิธีการทำงาน
10. ใช้เพื่อการแสดงบทบาท เล่าเรื่อง รายงาน หรือการสาธิต


สรุปได้ว่า นอกจากการำเข้าสู่บทเรียนในตอนเริ่มตอนแต่ละคาบในการเริ่มหัวข้อใหม่ระหว่างคาบชั่วโมง ครูก็ควรเตรียมความพร้อม ก่อนเริ่มหัวข้อใหม่ กิจกรรมนั้นอาจจะเป็นการเล่าเรื่อง การใช้คำถาม หรือกิจกรรม อื่นๆ ที่เหมาะสม


การเตรียมตัวเมื่อจัดกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน
ในการเตรียมกิจกรรมการนำเข้าสู่บทเรียน ครูควรรู้ข้อมูล เทคนิค วิธีการที่สำคัญบางประการ เพื่อใช้ในการเตรียมตัว เตรียมความพร้อมเพื่อความสามารถดำเนินกิจกรรม
สุวรรณี ศรีคุณ (2527:187) อ้างถึง อินทิรา บุณยาทร, 2542:218) กล่าวถึงเวลาที่ใช้ในการนำเข้าสู่บทเรียนว่า ถ้าช่วงเวลาที่สอน50-60 นาที จะใช้เวลาทำกิจกรรม ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาเนื้อหาที่สอน
2. ศึกษากิจกรรมที่จะนำมาใช้
3. ความรู้ประสบการณ์หรือความรู้เดิมของนักเรียน


สรุปได้ว่า ในการจักกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน ครูควรปฏิบัติในสิ่งต่างๆ
1. ครูควรรู้ประสบการณ์ หรือความรู้เดิมของนักเรียน
2. ศึกษาเรื่องที่จะสอน และเลือกกิจกรรม
3. ศึกษากิจกรรมที่จะนำมาใช้ และมีความพร้อม


เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน
1. ใช้อุปกณ์ที่สัมพันธ์กับบทเรียนเช่น ใช้ของจริง หุ่น รูปภาพ
2. ให้นักเรียนทำกิจกรรม
3. สนทนาซักถามแล้วเชื่อมโยงไปยังเรื่องที่เรียน
4. เล่านิทาน เล่าเร่องราว เล่า เหตุการณ์
5. ร้องเพลงเล่น การแสดงต่างๆ
6. ทบทวนเรื่องเรียนเดิมที่สัมพันธ์กับใหม่
7. สาธิต ทดลอง
8. ให้ฟังเสียงดนตรี วิทยุ
9. ให้ดูภาพยนตร์ สไลด์

สรุปได้ว่า กิจกรรมการเรียนการสอนที่ครูควรใช้ในการเข้าสู่บทเรียนมีหลายหลากกิจกรรมและรูปแบบ ซึ้งอาจจะเป็นเพลง เกมหรือคำถาม ครูต้องเลือกให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
สภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้สอดคล้องกับบทเรียนการสอน